“นม” ไม่ว่าจะเป็นนมชนิดไหน ย่อมมีประโยชน์ต่อร่างกาย เว้นแต่ว่าคุณจะมีอาการแพ้นม (ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย แต่ไม่ได้แพ้ที่ตัวนมโดยตรง เป็นส่วนประกอบในนมอีกต่างหาก) ถึงกระนั้น นอกจากโปรตีนและแคลเซียมแล้ว นมแต่ละชนิดให้คุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันเล็กน้อย หากเลือกดื่มอย่างถูกชนิด ถูกวิธี นมจะมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างสูงสุด
ข้อมูลจากนักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ระบุถึงส่วนประกอบของนมโดยทั่วไปในแต่ละชนิดเอาไว้ ดังนี้
ส่วนประกอบที่สำคัญของนมวัว
กว่า 87.8% ของนมวัวเป็นน้ำ
เมื่อโปรตีนถูกย่อยในระบบทางเดินอาหารและกลายเป็นกรดอะมิโน กรดอะมิโนนมวัวมีกรดอะมิโนจำเป็นที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีครบถ้วนมากกว่านมที่มาจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมพิสตาชิโอ กรดอะมิโนจำเป็นช่วยสร้างกล้ามเนื้อและส่วนต่างๆ ที่สึกหรอ
คาร์โบไฮเดรตจะมาจากทั้งแป้งและน้ำตาล ในนมจะพบได้ในรูปแบบของน้ำตาลแลคโตส นี่เป็นส่วนสำคัญของใครหลายคนที่ทำให้เกิดอาการแพ้นม เพราะเป็นผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์แลกเตส แต่ปัจจุบันมีนมที่ปราศจากแลคโตสให้ได้ดื่มกันเรียบร้อยแล้ว
ในนมวัวมีแคลเซียมมากถึง 204.67 มิลลิกรัมต่อนมวัว 200 มิลลิลิตร
นมวัวมีไขมันอยู่ราวๆ 3-4% หากใครไม่อยากได้ไขมันมากเกินไป ปัจจุบันมีนมพร่องมันเนยให้เลือกบริโภค
คุณค่าทางสารอาหารของนมวัว
พลังงาน 133.44 kcal
โปรตีน 6.61 กรัม
ไขมันรวม (ไขมันอิ่มตัว) 7.78 (4.89) กรัม
น้ำตาล 8.34 กรัม
แคลเซียม 204.67 มิลลิกรัม
นมจากพืช
นมที่มาจากพืช ส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่ว ร่างกายอาจดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่านมจากสัตว์ เพราะนมที่มาจากพืชมีสารจากธรรมชาติที่ชื่อว่า ไฟเตต (Phytate) ที่ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมได้
เป็นนมที่มาจากถั่วเปลือกแข็ง เช่น นมอัลมอนด์ นมพิสตาชิโอ นมวอลนัท และนมแมคคาเดเมีย นมกลุ่มนี้มีพลังงานไม่สูงมาก ไขมันอิ่มตัวต่ำ แต่ปริมาณแคลเซียมกับโปรตีนจะน้อยกว่านมวัว
นมถั่วเหลืองเป็นที่นมอย่างแพร่หลาย ทั้งกับคนที่แพ้นมวัว และคนที่รักสุขภาพ เพราะเป็นนมที่มีโปรตีนสูง แต่ปริมาณของแคลเซียมอาจมีพอประมาณ หากอยากได้แคลเซียมเยอะขึ้น ให้เลือกสูตรเสริมแคลเซียม และในบางยี่ห้ออาจผสมน้ำมันพืชหรือนมผง
นมข้าวโพดเป็นนมจากธัญพืชที่มีไขมันน้อยที่สุด แต่ก็มาพร้อมกับปริมาณน้ำตาลที่ค่อนข้างสูง โปรตีนต่ำ และไม่มีแคลเซียมเลย นอกจากนี้ยังสูตรที่ผสมถั่วเหลืองด้วย
คุณค่าทางสารอาหารของนมถั่วเหลือง
-
พลังงาน 147.75 kcal
-
โปรตีน 7.14 กรัม
-
ไขมันรวม (ไขมันอิ่มตัว) 5.97 (2.13) กรัม
-
น้ำตาล 13.72 กรัม
-
แคลเซียม 43.76 มิลลิกรัม
คุณค่าทางสารอาหารของนมอัลมอนด์
-
พลังงาน 70.91 kcal
-
โปรตีน 1.55 กรัม
-
ไขมันรวม (ไขมันอิ่มตัว) 3.18 (0.34) กรัม
-
น้ำตาล 2.49 กรัม
-
แคลเซียม 217.2 มิลลิกรัม
ปริมาณแคลเซียมในแต่ละวัยที่ควรได้รับ
-
ทารก 0-5 เดือน ควรได้รับแคลเซียมวันละ 210 มก.
-
ทารก 6-11 เดือน ควรได้รับแคลเซียมวันละ 260 มก.
-
เด็ก 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 500 มก.
-
เด็ก 4-8 ปี ควรได้แคลเซียมวันละ 800 มก.
-
ผู้ชาย ผู้หญิง 10-18 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มก.
-
ผู้ชาย ผู้หญิง 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มก.
-
ผู้ชาย ผู้หญิง 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มก.
-
หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร อายุ 14-18 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มก.
-
หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร อายุ 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มก.
วิธีเลือก “ดื่มนม” ให้เหมาะสมกับร่างกาย
-
เราไม่จำเป็นต้องเลือกดื่มนมชนิดใดชนิดหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว เราสามารถเลือกดื่มนมหลากหลายชนิดสลับสับเปลี่ยนกันไปเพื่อให้ได้สารอาหารที่หลากหลายตามไปด้วย
-
ในวัยเด็กถึงวัยรุ่น สามารถเลือกดื่มนมชนิดใดก็ได้สลับๆ กันไปตามความชอบ แต่ในวัยทำงานจนถึงวัยชรา หากมีปัญหาในเรื่องของสุขภาพ ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลหรือไขมัน ก็ควรเลือกนมที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันต่ำ เช่น นมอัลมอนด์ นมพิสตาชิโอ นมถั่วเหลืองสูตรหวานน้อย นมวัวพร่องมันเนย เป็นต้น
-
สำหรับวัยที่ต้องการแคลเซียมสูง เช่น วัยรุ่น วัยชรา และหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรเลือกดื่มนมวัว นมถั่วเหลืองหรือถั่วอื่นๆ ที่เสริมแคลเซียม เป็นต้น เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน
-
ควรเลือกดื่มนมจืดมากกว่านมปรุงแต่งรสชาติ ไม่ใส่น้ำตาล ถ้ายังติดหวานแนะนำให้เลือกสูตรหวานน้อย
-
หากเลือกดื่มนมที่มาจากพืช ควรเลือกสูตรเสริมแคลเซียม เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมที่มากขึ้น
-
หากแพ้นมวัว แล้วทราบว่าแพ้แลคโตส ควรเลือกดื่มนมวัวสูตรปราศจากแลคโตส หรือเลือกดื่มนมจากพืชได้ (แต่เลือกสูตรเสริมโปรตีน)
-
อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง
|